top of page

ศาลเจ้าหลวงป่าเมี่ยงและพิธีกรรมล้านนา

 

“ศาลเจ้าหลวงป่าเมี่ยงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชุมชนเคารพนับถือ

เนื่องจากเจ้าหลวงที่ปกครองเมืองน่าน ในอดีตได้มาเยี่ยมป่าห้วยหลวง

และได้วางรากฐานชุมชนในด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจโดยเฉพาะเมี่ยง

ทำให้ชุมชนมีความเจริญรุ่งเรืองถึงปัจจุบัน” 

                            กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

           เจ้าเมืองคุ้มครองปกป้องชาวบ้านและผืนป่ารวมถึงเป็นที่เคารพนับถือของคนในชุมชน ดังนั้น ในช่วงปีใหม่จึงมีพิธีสะเดาะเคราะห์บ้าน มีร่างทรงเจ้าหลวงป่าเมี่ยง ตามคำเล่าขานของผู้เฒ่าผู้แก่ท่านมีนามหลากหลาย อาทิ เจ้าหลวงคำแผ่น เจ้าหลวงคำเขียว หรือเจ้าหลวงคำเครื่อง โดยชาวบ้านจะเอาเสื้อผ้าเจ้าหลวงมาตากและให้ท่านเลือกใส่ มีน้ำส้มป่อย ทำพิธี จุดประทัด บูชาเจ้าหลวงศักดิ์สิทธิ์ในหมู่บ้าน เพื่อให้ปกปักรักษาคุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุข ซึ่งนี่ถือเป็นประเพณีที่สืบสานกันมาหลายช่วงอายุและเป็นความเชื่อของชาวบ้านที่ศรัทธาและช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจของทุกคน 


          ในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกๆ ปี บริเวณลำน้ำห้วยหลวง ชาวบ้านบ้านศรีนาป่าน-ตาแวนร่วมใจกันจัด “พิธีสืบชะตาป่าและน้ำห้วยหลวง” ซึ่งเป็นประเพณีของคนทางเหนือและเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา แสดงถึงความผูกพันต่อป่าของชาวบ้านที่มีความเชื่อว่า ถ้าช่วยกันปกป้องต้นไม้ ปกป้องป่า ป่าก็ต้องปกป้องชาวบ้านด้วยเหมือนกัน เป็นพิธีที่รวมศรัทธาของคนทั้งหมู่บ้านมาช่วยกันจัดเตรียมงาน สัญลักษณ์ที่สำคัญของพิธีสืบชะตาคือ ไม้ค้ำ หรือที่เรียกว่า “ไม้ค้ำสลี” มีลักษณะคล้ายไม้ง่าม นำมารวมกันที่ลานกลางป่าห้วยหลวงจำนวน 109 อัน และนำสายสิญจน์มัดรวมไว้ที่ปลายยอดไม้ค้ำโยงเข้าไปในป่า ลำห้วย สำหรับผู้ที่มาร่วมงานทุกคน พิธีนี้ถือเป็นพิธีมงคลให้ทั้งคนทั้งป่าและลำห้วย ให้มีความเจริญรุ่งเรือง มั่นคงสืบไป

ช่องทางการติดต่อ

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
17 หมู่ 3 ต.แม่ทราย อ.ร้องกวาง จ.แพร่ 54140
โทร. 096-235-4626
Email: Alisa.ij59@gmail.com

bottom of page